สวัสดีครับ คราวนี้ผมจะพูดถึงการตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้านกันนะครับ ซึ่งผมถือว่าระบบไฟฟ้านั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เปรียบเสมือนระบบประสาทของร่างกายคนเราเลยทีเดียว เพราะถ้ามีปัญหาเราก็ไม่สามารถอยู่ได้อย่างปกติสุข ดังนั้นการวางระบบไฟฟ้าที่ดีนั้น ต้องให้วิศวกรไฟฟ้าเป็นผู้ออกแบบ คำนวณ กำหนดชนิด และขนาดของสายไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน ส่วนการทำงาน ณ หน่วยงานก่อสร้างนั้น ต้องเป็นช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น โดยสามารถตรวจสอบจากผลงานที่ผ่านมา หรือจากการแนะนำบอกต่อก็เป็นการเพิ่มความมั่นใจได้ครับ
เราสามารถตรวจสอบระบบงานไฟฟ้าในบ้านเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองหลายจุดครับ เช่น
ต้องทำด้วยความประณีตบรรจงและระมัดระวัง เพราะหากทำด้วยความสะเพร่าหรือรอยต่อยึดสายหลวมเกินไป ก็จะเกิดการนำกระแสไฟที่ไม่ต่อเนื่องและจะเกิดความร้อนขึ้นได้ อาจนำปัญหาอันใหญ่หลวงตามมาภายหลัง โดยปกติการเดินสายไฟระหว่างสวิตซ์ถึงจุดดวงโคมหรือปลั๊ก จะหลีกเลี่ยงการต่อสายระหว่างทาง หรือถ้าจำเป็นต้องมีการต่อแยก จะต้องตัดเชื่อมบริเวณ Junction Box เท่านั้น และต้องย้ำจุดเชื่อมต่อให้แน่นสนิท ทั้งนี้ขนาดของสายไฟก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เนื่องจากขนาดของสายมีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งาน ปกติสายไฟแสงสว่างควรมีขนาดหน้าตัดไม่น้อยกว่า 1.5 มม. และขนาด 2.5 มม. สำหรับสายปลั๊ก
ท่านเจ้าของบ้านสามารถดูจากแบบแปลนไฟฟ้า ซึ่งจะแสดงแปลนห้องต่าง ๆ ในบ้าน พร้อมกับระบุตำแหน่งการติดตั้ง และการติดตั้งที่เรียบร้อยสามารถดูได้ด้วยสายตาว่าแน่นหนาหรือผิดแนวไปจากแบบหรือไม่
ปัจจุบันเรานิยมใช้วิธีร้อยท่อฝังดินเช่นเดียวกับแถบยุโรป ซึ่งจะมีความปลอดภัยและเป็นระเบียบเรียบร้อยกว่า ไม่ระเกะระกะ ไม่รกตายุ่งเหยิง และการเดินสายไฟเข้าหาตัวบ้านควรเป็นระยะทางที่สั้นที่สุดจากมิเตอร์ภายนอกตรงเข้าจุดตั้งตู้ไฟภายในบ้าน
ตู้นี้มีหน้าที่ควบคุมการจ่ายไฟไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน เมื่อเปิดบานหน้าตู้ออกจะเห็น Load Center และแผงเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือสะพานไฟเป็นลูกย่อย ๆ เรียงกัน ซึ่งลูกย่อย ๆ เหล่านี้จะทำหน้าที่ ปิด-เปิด การจ่ายไฟไปยังพื้นที่ส่วนต่างๆ เราสามารถตรวจสอบได้ เช่น ลูกเซอร์กิตย่อยลูกที่ 1 ควบคุมระบบปลั๊กไฟในชั้นที่ 1 เมื่อท่านเปิด (on) ที่ลูกเซอร์กิตย่อย แล้วใช้ไขควงวัดไฟตรวจสอบทีละจุด หรือใช้วิธีเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าในชั้นที่ 1 ตรวจสอบการทำงานทีละจุดก็ได้เช่นกัน และถ้าเราปิด (off) ที่ลูกเซอร์กิตย่อย ปลั๊กไฟในชั้นที่ 1 ทั้งหมด ก็จะไม่มีกระแสไฟเลย และอีกตัวอย่างเช่น ลูกเซอร์กิตย่อยลูกที่ 2 ควบคุมระบบไฟแสงสว่างในชั้นที่ 1 ก็สามารถตรวจสอบการทำงานของหลอดไฟต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยการเปิด (on) ลูกเซอร์กิตย่อย แล้วตรวจสอบการเปิด-ปิดสวิตซ์ไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งนี้ลูกเซอร์กิตขนาด 16 A. ควรรับจุดแสงสว่างไม่เกิน 15 จุดต่อ 1 ตัว เซอร์กิต และขนาด 20 A. ควรรับจุดปลั๊กไม่เกิน 10 จุด ต่อ 1 ตัวเซอร์กิต
ซึ่งควรให้มีเป็นมาตรฐานการทำงาน และระบบความปลอดภัยทางไฟฟ้าอื่นๆ เช่นตัวตัดไฟรั่วไฟเกินอัตโนมัติทั้งระบบ เป็นตัวตัดแบบตู้รวม หรือตัวตัดแบบเซอร์กิตย่อย Safety Switch
ควรเดินให้ได้แนวดิ่ง ตั้งฉากกับผนังเพื่อความเรียบร้อย ไม่เฉียง เย้ไปมา และควรแบ่งท่อตามชนิดของสายไฟและการใช้งาน ส่วนสายอากาศโทรทัศน์ สายโทรศัพท์ ควรแยกท่อกับสายไฟฟ้าเพื่อป้องกันการเกิดกระแสเหนี่ยวนำ และควรพ่นสีแยกชนิดของท่อแต่ละท่อเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบแก้ไข
นอกจากนี้ เพื่อความเข้าใจและความปลอดภัยของตัวท่านเอง ท่านควรถามผู้ที่มาดำเนินการระบบงานไฟฟ้าให้กับบ้านของท่านถึงวิธีการทำงาน รายละเอียด และขั้นตอนการทำงาน อย่างน้อยก็เพื่อความอุ่นใจของตัวท่านเองนะครับ